ปัญหาจากผู้ว่าจ้าง ที่ผู้รับเหมาต้องเผชิญ
ปัญหาจากผู้ว่าจ้าง ที่ผู้รับเหมาต้องเผชิญ
1.ผู้ว่าจ้างจ่ายเงินไม่ตรงกำหนดเวลา
เมื่อผู้รับเหมาทำงานเสร็จตามกำหนดแล้ว สุดท้ายผู้ว่าจ้างไม่ยอมจ่ายเงิน ผู้รับเหมาต้องปวดหัวตามทวงหนี้จากผู้ว่าจ้าง โดยผู้ว่าจ้างมักจะหาข้ออ้างเหตุผลต่างๆเพื่อชะลอการจ่ายเงินออกไป
___________________________________
2.ผู้ว่าจ้างแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่รู้จบ
ผู้ว่าจ้างมักจะคาดหวังผลงานที่ดีจากผู้รับเหมาเสมอ ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่ผู้รับเหมาต้องเข้ามาแก้งาน แต่ไม่ยอมให้ผ่าน ทำให้งานส่วนอื่นๆไม่คืบหน้า จึงเป็นเหตุผลที่ผู้รับเหมาต้องทิ้งงานเพราะกลัวขาดทุน และเจอปัญหาไม่รู้จบ
___________________________________
3.สัญญาปากเปล่าทำเสร็จผู้ว่าจ้างไม่จ่ายเงิน
เป็นปัญหาสืบเนื่องจาก 2 ปัญหาข้างต้น บางครั้งงานเล็กๆน้อยๆไม่จำเป็นที่ผู้รับเหมาและผู้ว่างจ้างจะต้องมาทำสัญญากัน แต่สุดท้ายเมื่อผู้รับเหมาทำงานเสร็จ ผู้ว่าจ้างกลับบิดคำพูดไม่ยอมจ่ายเงินให้แก่ผู้รับเหมา อีกทั้งสัญญาปากเปล่าไม่มีหลักฐานที่จะเอาผิดแก่ผู้ว่าจ้าง
___________________________________
4.ผู้ว่าจ้างเพิ่มงานไปเรื่อย แต่ไม่เพิ่มเงิน
บางครั้งงานอยู่นอกเหนือจากสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้ ทำให้ผู้รับเหมาต้องแบกรับต้นทุนทั้งด้านวัสดุอุปกรณ์ ค่าแรง ค่าดำเนินการ ค่าเสียเวลา ไปโดยไม่ได้รับค่าตอบแทนกลับคืนมา
___________________________________
5.ผู้รับเหมาทำแล้วขาดทุน
ปัญหาตรงนี้เกิดจากตัวของผู้ว่าจ้างเอง ทั้งจากกรณีการสั่งงานนอกเหนือจากสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้ การแก้ปัญหาจุกจิก เปลี่ยนสเปควัสดุกลางคันไม่เป็นไปตามสัญญาซึ่งจะทำให้ต้นทุนของผู้รับเหมาบานปลายออกไป
___________________________________
6.ผู้ว่าจ้างเลือกผู้รับเหมาที่เสนอราคาต่ำ จ่ายน้อยแต่อยากได้ของดี
ผู้ว่าจ้างมักจะหาผู้รับเหมาที่เสนอราคาต่ำๆแต่กลับอยากได้ผลงานดีๆ มาตรฐานดีๆ ในราคาถูก ทั้งการเปลี่ยนแปลงวัสดุที่นอกเหนือจากสัญญาและการแก้งานบ่อยให้ได้เนี๊ยบอย่างที่ตนเองต้องการ ทำให้ต้นทุนของผู้รับเหมาสูงขึ้นจากต้นทุนค่าแรงที่จะต้องจ่าย
___________________________________
7.วัสดุราคาขึ้น
ราคาวัสดุเป็นต้นทุนที่ผู้รับเหมาต้องแบกรับจากความผันของราคาวัสดุก่อสร้างที่ขึ้นๆ ลงๆอยู่ตลอดเวลา ในบางช่วงเวลาบางสถานการณ์ราคาวัสดุก็ปรับตัวสูงขึ้นเกินกว่าที่ผู้รับเหมาได้คาดการณ์เอาไว้ทำให้ผู้รับเหมาต้องแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้น รายได้ที่คาดว่าจะได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยกลับลดลงบางรายถึงขั้นขาดทุน ทำให้ผู้รับเหมาเห็นว่างานชิ้นนี้ไม่คุ้มที่จะทำต่อ ทำไปก็ขาดทุนแน่ๆจึงต้องทิ้งงานไป
___________________________________
8.ผู้ว่าจ้างไม่เข้ามาดูงาน
การที่ผู้ว่าจ้างไม่เข้าหน้างาน ไม่เข้าไปตรวจสอบ อาจจะทำให้งานบานปลายไม่ตรงตามสเปคที่ต้องการได้ เช่น ผู้ว่าจ้างอาจจะเขียนแบบมาไม่ชัดเจน ทำให้ผู้รับเหมาเข้าใจผิดแล้วทำไปเรื่อยๆโดยไม่มีใครมาทักท้วง ถ้าผู้ว่าจ้างเข้าหน้างานเป็นประจำก็สามารถช่วยทักท้วงข้อผิดพลาดในสิ่งที่ผู้รับเหมาทำได้
วันน์สยามรับทำ งานผลิตออกแบบ ตกแต่ง ทำสี ครบวงจร เรามีทีมงานและวิศวกรมืออาชีพ ที่มีความเชี่ยวชาญงานตะแกรงเหล็กฉีกมามากกว่า10ปี