มาตรฐานวัสดุ

ตะแกรงเหล็กฉีกกับเหล็ก SS400 คืออะไร

ตะแกรงฉีก เป็นการนำวัตถุดิบ อันได้แก่ เหล็ก, สแตนเลสหรืออลูมิเนียมที่เป็นแผ่นเรียบ มาเจาะแล้วฉีกถ่างออกเป็นลักษณะตาข่ายรูปข้าวหลามตัด สามารถนำมาใช้งานได้หลากหลายและกำลังเป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภทในปัจจุบัน เนื่องจากมีความคงทนแข็งแรง,ราคาถูกและใช้งานได้สารพัดประโยชน์ อาทิเช่น ปูพื้นทางเดิน ตะแกรงระบายน้ำ กันนก ทำรั้วหรือตกแต่ง ฯลฯ ปรึกษาทีมผู้เชี่ยวชาญ Line@siam99 

วัสดุโลหะที่ใช้ทำตะแกรงเหล็กฉีกที่นิยมในปัจจุบัน มี 3 ชนิดดังนี้

  • สามารถในการขึ้นรูปได้ และความทนทานที่ยอดเยี่ยม รวมทั้งยืดหยุ่นได้ดี, มีค่าจุดคราก และการนำความร้อนที่ดี ตลอดจนคุณสมบัติที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่มีในเหล็กกล้าไร้สนิม นั้นคือความทนทานต่อการกัดกร่อนเมื่อทำการเลือกวัสดุไปใช้ในงานที่จำเพาะเจาะจงแล้ว วิศวกรต้องมีความมั่นใจในความเหมาะสมของ สภาวะการรับแรง และความทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ และนี่คือหัวข้อที่อยู่ในการบริการของเรา ความเข้าใจ และการควบคุมคุณสมบัติของวัสดุให้ได้นั้นเป็นสิ่งจำเป็น คุณสมบัติทางกลของเหล็กสามารถทำการควบคุมได้โดยอาศัยการเลือก chemส่วนประกอบทางเคมี ที่เหมาะสม, กระบวนการ และกระบวนการอบร้อน หรือจนถึงการตรวจสอบโครงสร้างระดับจุลภาค อัลลอยด์ และกระบวนการอบร้อนถูกใช้ในการผลิตเหล็ก ผลที่ได้นั้นจะมีความแตกต่างกันทั้งค่าคุณสมบัติ และความแข็งแกร่ง ส่วนในการทดสอบนั้นต้องดำเนินการทดสอบไปจนถึงคุณสมบัติสุดท้ายของเหล็ก เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเป็นมาตรฐานที่น่าเชื่อถือมีระบบการวัดอยู่หลายรูปแบบที่ใช้ในการระบุคุณสมบัติของเหล็ก ตัวอย่างเช่น จุดคราก, ความอ่อน และความแข็งตึง สามาหาหาได้โดยใช้การทดสอบแรงดึง ความเหนียวสามารถวัดค่าได้โดยใช้การทดสอบอิมแพ็ค ส่วนค่าความแข็ง สามารถหาได้โดยวัดจากความต้านทานในการเจาะพื้นผิวของวัสดุแข็งการทดสอบแรงดึง เป็นวิธีการในการประเมินผลตอบสนองของโครงสร้างของเหล็ก เมื่อได้รับโหลด ซึ่งผลลัพธ์จะแสดงในค่าความสัมพันธ์ระหว่าง ความเค้น และความเครียด โดยที่ค่าความสัมพันธ์ระหว่าง ความเค้น และความเครียด สามารถวัดได้จากช่วงยืดหยุ่นของวัสดุ และอัตราส่วนโมดูลัสของยัง ค่าโมดูลัสของยังที่สูงนั้น จะแสดงถึงความแตกต่างของคุณสมบัติเหล็ก ซึ่งจะอยู่ในช่วง 190-210 GPa และมีค่าเป็นสามเท่าของอลูมิเนียมคุณสมบัติทางกายภาพของเหล็กจะมีความเกี่ยวพันธ์กับลักษณะทางกายภาพของวัสดุ เช่น ความหนาแน่น, สภาพการนำความร้อน, โมดูลัสของสภาพยืดหยุ่น, อัตราส่วนของปัวซอง, อื่นๆ ค่าโดยทั่วไปขอคุณสมบัติทางกายภาพของเหล็ก ได้แก่
    • ความหนาแน่น ρ = 7.7 ÷ 8.1 [kg/dm3]
    • โมดูลัสของสภาพยืดหยุ่น E=190÷210 [GPa]
    • อัตราส่วนของปัวซอง ν = 0.27 ÷ 0.30
    • สภาพการนำความร้อน κ = 11.2 ÷ 48.3 [W/mK]
    • สัมประสิทธิ์การขยายตัวเนื่องจากความร้อน α = 9 ÷27 [10-6 / K]
  •  อลูมิเนียม อลูมิเนียม มีจุดหลอมละลายที่ 660 องศาเซลเซียส เป็นโลหะที่มีความหนาแน่นน้อย น้ำหนักเบา รับภาระน้ำหนักได้สูง สามารถขึ้นรูปได้ง่าย ไม่เสี่ยงต่อรอยร้าว และการแตกหัก ไม่เป็นสนิม ทนต่อการกัดกร่อน และไม่เป็นพิษต่อมนุษย์ โดยเฉพาะการนำมาผสมกับโลหะอื่นๆแล้วจะทำให้คุณสมบัติต่างๆเพิ่มมากขึ้น เช่น จุดหลอมเหลวของอลูมิเนียมผสมจะอยู่ที่ 1140-1205 องศาเซลเซียส จึงนิยมนำมาผลิตเป็นชิ้นส่วนต่างๆ รวมถึงวัสดุหรือภาชนะที่เกี่ยวข้องกับอาหาร นอกจากนั้น ยังมีคุณสมบัติทางเคมีของอลูมิเนียมในลักษณะต่างๆ ได้แก่
    • เมื่อทำปฏิกิริยากับออกซิเจนจะทำให้เกิดชั้นฟิล์มบางๆ เรียกว่า อลูมิเนียมออกไซด์ เคลือบบนชั้นผิวอลูมิเนียมป้องกันการเกิดปฏิกิริยาอื่นๆได้ดี
    • การทำปฏิกิริยากับไนโตรเจนจะทำให้เกิดไนไตรด์ที่อุณหภูมิสูง
    • ไม่ทำปฏิกิริยากับกำมะถัน
    • เมื่อทำปฏิกิิริยากับไฮโดรเจน ไฮโดรเจนจะแทรกซึมเข้าสู่ชั้นในของอลูมิเนียม จึงจำเป็นต้องกำจัดออก
    • สามารถทนต่อกรดอนินทรีย์เข้มข้นได้ปานกลาง
    • ทนต่อปฏิกิริยาของด่างได้เล็กน้อย สามารถละลายได้ในสภาวะที่เป็นด่างเข้มข้น
    • เกิดปฏิกิริยากับเกลือได้ ทำให้เกิดการกัดกร่อน

    ด้วยคุณสมบัติเด่นๆ ตามที่กล่าวมาข้างต้น จึงทำให้มีการนำอลูมิเนียมมาประยุกต์ใช้กับการผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ โดยเฉพาะวัสดุที่เรามักจะใช้ในชีวิตประจำวัน และภาคอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะการมีน้ำหนักที่เบามากของอลูมิเนียม และราคาที่ถูกมากจนช่วยลดต้นทุนไปได้เยอะ

  • สแตนเลสสแตนเลส คือ ชื่อเรียกของเหล็กกลุ่มที่มีความต้านทานการกัดกร่อน (เหล็กกล้าไร้สนิม) โดยมีโครเมี่ยมผสมอยู่อย่างน้อย 10.5% ซึ่งจะทำหน้าที่สร้างฟิลม์บางๆ ขึ้นเพื่อทานการกัดกร่อน และจะสร้างฟิลม์ขึ้นใหม่ได้เอง หากผิวฟิล์มถูกขีดข่วน ทำลาย นอกจากนี้ยังมีการเติมธาตุผสมอื่นๆ เช่น นิกเกิล โมลิบดินัม ไททาเนียม เพื่อเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อน หรือปรับคุณสมบัติทางกลที่ต้องการ ซึ่งมีรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสัมบัติพิเศษของสเตนเลสดังนี้
    1. ทนทานต่อการกัดกร่อน

สเตนเลสทุกตระกูลทนทานต่อการกัดกร่อน แต่จะแตกต่างกันไปตามส่วนผสมของโลหะ เช่น เกรดที่มีโลหะผสมไม่สูงสามารถต้านทานการกัดกร่อนในบรรยากาศทั่วไป ในขณะที่เกรดที่มีโลหะผสมสูงจะสามารถต้านทานการกัดกร่อนในกรด ด่าง สารละลาย บรรยากาศคลอไรด์ได้เกือบทั้งหมด

2. ความต้านทานต่ออุณหภูมิสูงและอุณหภูมิต่ำ
สเตนเลสบางเกรดสามารถทนความร้อนและความเย็น รวมถึงการเปลี่ยนอุณหภูมิโดยฉับพลันได้ดี และด้วยคุณสมบัติพิเศษในการทนไฟ ทำให้มีการนำสเตนเลสไปใช้ในอุตสาหกรรมขนส่ง อุตสาหกรรมปิโตรเคมีอย่างแพร่หลาย

3. ง่ายต่อการประกอบ หรือแปรรูป
สเตนเลส่วนใหญ่สามารถตัด เชื่อม ตกแต่งทางกล ลากขึ้นรูป ขึ้นรูปนูนต่ำได้ง่าย ด้วยรูปร่าง คุณสมบัติ และลักษณะต่างๆ ของสเตนเลสช่วยให้ผู้ผลิตสามารถนำสเตนเลสไปประกอบกับวัสดุอื่นๆ ได้ง่าย

4. ความทนทาน
คุณสมบัติเด่นอีกประการหนึ่งของสเตนเลสคือความแข็งแกร่งทนทาน สเตนเลสสามารถเพิ่มความแข็งได้ด้วยการขึ้นรูปเย็น ซึ่งใช้เพื่อออกแบบงาน โดยลดความหนา น้ำหนักและราคา สเตนเลสบางเกรดอาจใช้งานในที่ทนความร้อนและยังคงความทนทานสูง

5. ความสวยงาม
ด้วยรูปทรงและพื้นผิวที่หลากหลายรูปแบบที่สวยงาม ทำความสะอาดได้ง่าย ปัจจุบันสเตนเลสมีสีให้เลือกมากมายด้วยกรรมวิธีชุบเคลือบผิวเคมีไฟฟ้า สามารถทำให้สเตนเลสมีผิวสีทอง บรอนซ์ เขียว เงิน และสีดำ ทำให้สามารถเลือกประยุกต์ใช้สเตนเลสได้อย่างมากมาย นอกจากนี้ความเงางามของสเตนเลสในอ่างล้างจานอุปกรณ์ประกอบอาหารหรือเฟอร์นิเจอร์ทำให้บ้านดูสะอาดและน่าอยู่อีกด้วย

6. ความปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ
การทำความสะอาด การดูแลรักษา สเตนเลสจะมีความเป็นกลางสูงจึงไม่ดูดซึมรสใดๆ เป็นเหตุผลสำคัญที่สเตนเลสถูกนำมาใช้ในโรงพยาบาล เครื่องครัว ด้านโภชนาการและด้านเภสัชกรรม เนื่องจากความทนทาน ต้องการการดูแลรักษาน้อย และค่าใช้จ่ายต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับระยะเวลาการใช้งาน การใช้อุปกรณ์เครื่องครัวสเตนเลสในบ้านเรือนให้ความรู้สึกถึงความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ และนอกจากนี้สเตนเลสยังช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมคือสามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์

  

เหล็ก SS400 คือ

เหล็ก SS400 คือ ชื่อเกรดวัสดุที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน อุสาหกรรมอุสาหกรรมของญี่ปุ่น หรือ

JIS G3101 โดย SS400 ย่อมาจาก steel structure 400 โดย 400 คือค่าความต้านทานแรงดึง 400 เมกะปาสกาล เป็นค่ามาตรฐานวัสดุ ที่ใช้กันมากในมาตร ฐาน JIS สามารถใช้ได้ทั้งงานโครงสร้างและงานตกแต่ง

 

โดยค่ามาตรฐาน JIS นั้นย่อมาจาก Japan Industrial Standard

และ JIS G3101 ย่อมาจาก

 

G = โลหะประเภทเหล็ก และโลหะวิทยา

( การจัดกลุ่ม ผลิตภัณฑ์ อุสาหกรรมต่างๆ  )

3 = เหล็กคาร์บอน ( กลุ่มประเภทของเหล็ก )

1 = เหล็กไร้สนิม ( ประเภทของวัสดุในกลุ่ม )

01 = เหล็กเครื่องมือ เหล็กคาร์บอน ( ชนิดของส่วนผสมที่มีอยู่ในวัสดุนั้น )

Visitors: 274,637